สำรวจถิ่น "ค้างคาว" ทั่วโลก ระเบิดเวลาโรคระบาดใหม่
เป็นเวลาหลายพันปีมาแล้วที่เชื้อไวรัสค้างคาวได้ซุกซ่อนตัวอยู่ในป่าแถบแอฟริกาตะวันตก อินเดีย อเมริกาใต้ และส่วนอื่นๆ ของโลก และไม่ได้เป็นภัยคุกคามต่อมนุษยชาติเท่าใดนัก แต่การวิเคราะห์ข้อมูลล่าสุดโดยสำนักข่าวรอยเตอร์สพบว่า มันไม่ได้เป็นเช่นนั้นแล้ว เพราะปัจจุบัน มนุษย์ได้รุกล้ำถิ่นที่อยู่อาศัยของค้างคาวมากขึ้น ไวรัสที่มีค้างคาวเป็นพาหะกำลังเป็นระเบิดเวลาที่รอการระบาดใน 113 ประเทศ ที่มีความเสี่ยงสูง และอาจก้าวกระโดดข้ามสายพันธุ์มายังมนุษย์ได้
รัสเซียขึ้นบัญชีดำชาวอเมริกันอีก 500 คน ห้ามเข้าประเทศ รวม"โอบามา"ด้วย
สื่อเมืองน้ำหอม ตีข่าว โทรเฟ่ เดส์ ชองปิยงส์ 2023 เลื่อนจัดแข่งขัน
ทั้งนี้ ค้างคาวถูกเชื่อมโยงว่าเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคระบาดจนคร่าชีวิตผู้คนมากที่สุดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา รวมถึงโควิด-19 ด้วยที่คร่าชีวิตผู้คนไปอย่างน้อย 7 ล้านคน ซึ่งมีหลายฝ่ายที่วิเคราะห์ว่าเชื้อโคโรนาไวรัสมาจากค้างคาว แม้ว่านักวิทยาศาสตร์กำลังพยายามที่จะหาคำตอบกันว่าไวรัสนี้แพร่มาสู่คนได้อย่างไร ซึ่งโรคระบาดสิบกว่าโรคนั้นสามารถติดตามต้นตอการติดเชื้อได้โดยเฉพาะในบริเวณที่พบคนอาศัยอยู่ติดกับถิ่นของค้างคาว
อย่างไรก็ตาม เพื่อค้นหาว่าที่ไหนในโลกนี้บ้างที่มีไวรัสค้างคาวอยู่ ทีมข่าวรอยเตอร์สได้ใช้ข้อมูลจากโรคระบาดเมื่อ 20 ปีก่อนและข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมประกอบกันเพื่อปักหมุดหาที่ๆ อาจจะเชื่อมโยงกับ “โรคติดเชื้อร่วมระหว่างคนและสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์ป่า” หรือ “Zoonotic Spillover” ทั้งนี้ ด็อกเตอร์ริชาร์ด ซูอู-เอียร์ นักวิจัยค้างคาวจากมหาวิทยาลัยกานา และหัวหน้าทีมตอบสนองโรคไวรัสมาร์บวร์ก ระบุว่า โรคที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน ได้รับการยืนยันแล้วว่าส่วนใหญ่มาจากสัตว์ป่า และไวรัสจากค้างคาวก็เป็นหนึ่งในนั้น
นอกจากนี้ เชื้อไวรัสในค้างคาวที่ติดมาสู่คนนั้นอาจมากับตัวกลาง เช่น สุกร ชิมแปนซี ชะมด หรือคนอาจจะได้รับเชื้อเองโดยตรงจากปัสสาวะ อุจจาระ เลือด หรือน้ำลายของค้างคาว เป็นต้น
ทั้งนี้ นักข่าวของรอยเตอร์สได้พูดคุยกับนักวิทยาศาสตร์หลายสิบคน และศึกษางานวิจัยเชิงลึกหลายชิ้น รวมทั้งได้เดินทางไปยังประเทศที่พบถิ่นค้างคาวอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ทั้งนี้ก็เพื่อจะทำความเข้าใจให้มากขึ้นเกี่ยวกับความเสี่ยงของการเกิดโรคระบาดจากเชื้อไวรัส โดยจากข้อมูลการวิเคราะห์ของทีมข่าวรอยเตอร์สเผยให้เห็นว่าระบบการพัฒนาเศรษฐกิจทั่วโลกมีส่วนที่ทำให้สุขภาพของคนเข้าขั้นเสี่ยงมากยิ่งขึ้นเช่นกัน เช่น ในพื้นที่ป่าทั้งหลายที่พบค้างคาวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จะมีแหล่งความเจริญจากกิจกรรมของมนุษย์อยู่บริเวณเดียวกันด้วย อย่างเช่น ฟาร์ม เหมืองแร่ ตลอดจนถนนหนทางมากมาย
“เขตจู่โจม” ดินแดนอันตรายของแหล่งไวรัสค้างคาว
จากผลการศึกษาของรอยเตอร์สพบว่าในปี 2020 พื้นที่บนโลกนี้กว่า 9 ล้านตารางกิโลเมตรเป็นที่อยู่อาศัยของค้างคาว และยังพบการกระจายเชื้อไวรัสที่มีความเป็นไปได้อย่างมากที่ทำให้เกิดโรคระบาด โดยทีมข่าวรอยเตอร์สได้ตั้งชื่อพื้นที่เหล่านี้ว่า “Jump Zones” หรือเขตจู่โจม พื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ในแถบร้อนชื้นซึ่งแผ่ขยายกินอาณาบริเวณประมาณร้อยละ 6 ของพื้นที่ทั้งโลก โดยมีความหนาแน่นของประชากรค้างคาวที่เกิดขึ้นไปพร้อมๆ กับความเจริญของเมือง
ในขณะที่จากข้อมูลปี 2020 ประชากรเกือบๆ 1,800 ล้านคน หรือมากกว่า 1 ใน 5 อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับเชื้อไวรัสในค้างคาว โดยพบว่าร้อยละ 57 ของประชากรเหล่านี้อยู่ในเขตจู่โจม ซึ่งมีจำนวนมากขึ้นกว่า 20 ปีก่อน มากไปกว่านั้น ผู้คนที่อาศัยในเขตนี้ยังอยู่ติดกันซึ่งจะยิ่งเพิ่มโอกาสให้เชื้อไวรัสติดต่อกันเร็วขึ้นและพัฒนาไปสู่โรคระบาดทั่วโลก
ประเทศไหนในโลก เป็นเขตจู่โจม?
รอยเตอร์สพบว่าประเทศจีน ที่ซึ่งพบเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นที่แรก รวมถึงลาว มีความเสี่ยงของไวรัสค้างคาวสูงมาก ขณะที่ทีมนักวิทยาศาสตร์ก็ได้หาจุดที่เชื่อมโยงมากที่สุดระว่างสัตว์ป่าและเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคระบาดในปัจจุบัน โดยพบว่ายังมีประชากรในอินเดียประมาณ 5 แสนคนขยายที่อยู่อาศัยไปในเขตจู่โจมมากขึ้น นอกจากนี้ก็ยังมีบราซิลที่ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นป่า เช่น ป่าแอมะซอนที่ซึ่งพบว่ามีการทำลายพื้นที่ป่ามากขึ้นด้วย
มนุษย์ คือตัวการเกิดไวรัส
ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายระบุว่าโรคระบาดไม่ได้เกิดขึ้นจากพฤติกรรมของค้างคาว แต่เกิดจากมนุษย์เราเองที่กระหายในการตามหาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แร่เหล็ก ทองคำ โกโก้ ยาง และอีกมากมาย ซึ่งการบุกรุกเข้าไปหาทรัพยากรต่างๆ เหล่านี้ทำให้พื้นที่เขตจู่โจมสูญเสียต้นไม้ไปถึงร้อยละ 20 แล้ว
มนุษยชาติคือตัวการที่กำลังทำลายระบบนิเวศ ชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ก่อนที่นักวิทยาศาสตร์จะได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยซ้ำ การพัฒนาแม้จะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้คนดีขึ้น แต่ก็ทำให้เชื้อโรคเติบโตขึ้นจนพัฒนามาเป็นโรคระบาดได้เช่นเดียวกัน อีกทั้งยังกำจัดความลับของธรรมชาติที่วงการวิทยาศาสตร์ถือว่าเป็นคุณค่าของโลกที่ควรต้องไม่ให้ผู้ใดย่างกรายเข้าไป เช่น ธรรมชาติของค้างคาวที่จริงแล้วสามารถอยู่ได้กับไวรัสหลากหลายชนิดซึ่งแตกต่างจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ ที่อาจตายได้ ซึ่งความลับของธรรมชาตินี้เองที่สามารถต่อยอดในทางการแพทย์เพื่อศึกษาการวิจัยวัคซีน ยารักษาโรค ตลอดจนนวัตกรรมใหม่ๆ
แน่นอนว่าทีมข่าวรอยเตอร์สและนักวิทยาศาสตร์ส่งแรงกระเพื่อมไปยังรัฐบาลและองค์กรความร่วมมือต่างๆ ทั่วโลกที่ซึ่งยังคงเห็นแค่การป้องกันความเสี่ยงเพียงเล็กน้อย โดยเฉพาะกับในประเทศที่จำนวนประชากรค้างคาวหนาแน่น เช่น สาธารณรัฐกินี เซียร์ราลีโอน ลิเบอเรีย ไอวอรี โคสต์ และกานา ที่ซึ่งทีมข่าวรอยเตอร์สพบว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคระบาดได้สูงสุดในโลกคำพูดจาก สล็อต777